Lab 1

การทดลองที่ 1

พื้นฐานระบบแรงดันไฟฟ้า 3 เฟส

อุปกรณ์ประกอบการทดลอง
1) True RMS Multimeter (Fluke 111)                                                1        เครื่อง
2) Pen type Meter (MS 8211)                                                              1        เครื่อง
3) Breaker S 2010 240/415v~ IE C898 10kA ของ Safe-T-Cut   1        เครื่อง
4) Circuit Breaker Set                                                                            1        ชุด


รูปที่ 1.1 แสดงอุปกรณ์ประกอบการทดลอง

วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักศึกษารู้จักแรงดันไฟฟ้า VLine และ VPhase  ของระบบไฟฟ้าในอาคาร
2) เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานของ ไขควงเช็คไฟ และ Voltage Tester
3) เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงอันตรายจากไฟฟ้า


ระบบไฟฟ้า          
ระบบ 1 เฟส จะมี 2 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE (มีไฟ) 1 เส้น และสาย Neutral (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า 220230 volt  มีความถี่ 50 Hz ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก
ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE (มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สาย LINE กับ LINE 380400 volt และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 220230 volt  และมีความถี่ 50 Hz  เช่นเดียวกัน จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์
สายดิน หรือ GROUND มีทั้ง 2 ระบบ ติดตั้งเข้าไปในระบบเพื่อความปลอดภัยของระบบ สายดินจะต้องต่อเข้าไปกับพื้นโลก ตามมาตรฐานกำหนด



รูปที่ 1.2 แสดงการวัด VR-S



รูปที่ 1.3 แสดงการวัด VR-N

ผลการทดลอง

VLine
แรงดันที่วัดค่าได้ (Volt)
VPhase
แรงดันที่วัดค่าได้ (Volt)
VLine/ VPhase
(Volt)
VR-S
394.6
VR-N
225.2
1.752
VR-T
392.5
VR-N
224.5
1.748
VS-T
396.3
VS-N
232.7
1.703



สรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
                จากผลการทดลองพบว่า แรงดัน VLine ที่วัดได้จะอยู่ในช่วง ประมาณ 220-235 volt ส่วนแรงดัน  VPhase นั้นจะอยู่ในช่วง 390-400 volt จะเห็นได้ว่าเมื่อเรานำค่าแรงดัน VLine /VPhase   มาหาค่าเฉลี่ยจะได้เท่ากับ 1.734 volt เราจึงสามารถสรุปได้ว่า
                                           VLine = 1.734 VPhase   หรือ    VLine =  VPhase


ไขควงเช็คไฟ และ Voltage Tester
                การใช้งานไขควงเช็คไฟ คือ เราจะนำไขควงเช็คไฟส่วนปลายที่เป็นตัวนำไปแตะกับขั้วที่มีตัวนำ เช่น ทองแดง หรือไปแตะกับปลายสายไฟ ที่เราต้องการจะตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้าหรือไม่นั้น โดยถ้าสิ่งที่เราต้องการตรวจสอบนั้นมีกระแสไฟฟ้าไหล หลอดไฟนีออนในไขควงเช็คไฟก็จะสว่างขึ้น การทำงานของไขควงไฟฟ้าคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากปลายไขควงผ่านหลอดไฟนีออนจึงทำให้ไฟติด จากนั้นจึงไหลผ่านตัวต้านทาน ซึ่งตัวต้านทานจะทำหน้าที่ลดกระแสไฟฟ้าที่จะไหลผ่านนิ้วมือ ร่างกายเราจึงไม่ได้รับอันตราย  สุดท้ายกระแสไฟฟ้าก็ไหลลงกราวด์ จึงทำให้ครบวงจร

               

รูปที่ 1.4 แสดงการใช้ไขควงไฟฟ้าตรวจสอบกระแสไฟฟ้า


                  Voltage Tester เป็นอุปกรณ์ ที่ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า จากการทดลองคือ ผู้ทดลองจะนำไขควงเช็คไฟไปแตะที่ปลายขั้วที่มีไฟฟ้า หลอดนีออนในไขควงจะเรื่องแสง จากนั้นก็นำ Voltage Tester ไปจ่อใกล้ๆตัวผู้ที่กำลังใช้ไขควงเช็คไฟ ปรากฏว่า Voltage Tester จะมีการเรืองแสง และมีเสียงปิ๊ดๆๆขึ้น






รูปที่ 1.5 แสดงการใช้ Voltage Tester



อันตรายจากไฟฟ้า
                การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า เราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพราะไฟฟ้านั้น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าบริเวณที่เราไปสัมผัสนั้น มีกระแสไฟฟ้าอยู่หรือไม่ เราจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างสูง เนื่องจากถ้าบริเวณที่เราไปสัมผัสเป็นไฟฟ้าแรงสูงก็อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายง่ายๆก็คือ
1) ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เสมอ เช่น ไขควงเช็คไฟ เป็นต้น
2) ผู้ปฏิบัติงานต้องแต่งกายให้เหมาะสม สวมรองเท้าด้วย ไม่ควร ใส่สร้อย หรือเครื่องประดับที่เป็นโลหะ ในเวลาที่ปฏิบัติงาน
3) ผู้ปฏิบัติงานต้องตั้งสติ และนึกอยู่เสมอว่า กำลังทำงานอยู่กับไฟฟ้าตลอดเวลา และควรจะศึกษาวิธีการใช้งานอุปกรณ์แต่ละชนิดมาก่อน เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดได้

0 Response to "Lab 1"

แสดงความคิดเห็น